เครื่องมือวัดความคุ้มค่าในการเทรด


0

การประกอบร่าง Wave Tunnel Trade Setup มีหลักในการใช้งาน สรุปสั้นๆ จำง่าย 4 ข้อคือ

1.Wave และ Tunnel เป็นแนวรับแนนวต้านธรรมชาติ

2.ราคาทะลุ Wave วิ่งหา Tunnel

3..ราคาชน Tunnel ไม่ผ่านกลับมาหา Wave

4.ราคาผ่านทั้ง Wave และ Tunnel วัดเป้าด้วย Flag Pattern

หลักการมีแค่นี้ แต่นำมาสร้าง Trade Setup ได้ถึง 4 แบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีขาขึ้นและขาลง เลยกลายเป็น 8 แบบนั่นเองครับ

Flag Pattern เป็นรูปแบบการเคลื่อนที่ราคาที่เป็น Continuous Pattern ซึ่งจะมีแนวโน้มไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างชัดเจน จะแสดงให้เห็นเป็นทิศทางในขาขึ้นที่เรียกว่า Bullish Flag Pattern ส่วนขาลงจะเรียกว่า Bearish Flag Pattern บริเวณการพักตัวตรงกลาง หากเห็นเป็นกรอบสามเหลี่ยม ก็จะถูกเรียกอีกชื่อว่าเป็น Pennant ได้

ลักษณะของ Flag Pattern จะมีการเคลื่อนที่ของราคา 4 จุดคือ A B C D ตามลำดับ ราคาเคลื่อนที่จาก A ไป B เรียกว่า Flag Pole หรือ เสาธงและราคาที่พักตัวจากจุด B ไป C เป็นตัวธง ซึ่งจะต้องพักตัวไม่ลึกกว่าครึ่งของระยะ AB

เมื่อราคาวิ่ง Break Out จุด B ไปได้ โดยส่วนมากจะพบราคาวิ่งจากจุด C ไป D ด้วยระยะเท่ากับ AB จึงทำให้ Pattern นี้มีชื่อเรียกอีกว่า AB=CD Pattern

มีประโยชน์อีกอย่างคือสามารถนำไปใช้คำนวณหา Reward-to-Risk Ratio ในการประเมินความคุ้มค่าของการเทรด และใช้ในการคำนวณ Position Sizing เพื่อควบคุมความเสียหายจากการขาดทุนในการเทรดอีกด้วยครับ

หาความคุ้มค่าด้วย Reward-to-Risk Ratio (RRR)

ในการเทรดแต่ละครั้ง เราเทรดด้วยความน่าจะเป็น เราไม่มีทางรู้ได้แน่นอนว่า เปิดสถานะแล้วราคาจะไปในทิศทางที่เราคาดการณ์จริงหรือไม่ มีโอกาสที่เราอาจผิดพลาด และต้องปิดสถานะ Stop Loss ขาดทุก็ได้ ซึ่งการที่จะรักษาต้นทุนไว้ให้ได้ และทำให้เงินลงทุนเติบโตได้ เราต้องเทรดในหน้าเทรดที่มีความคุ้มค่าที่จะเสี่ยง ดังนั้นการคำนวณ RRR จึงมีความสำคัญมากๆ

สำหรับ AB=CD Pattern สามารถประเปิน RRR ได้ไม่ยาก จุดที่เราเปิดสถานะคือ บริเวณราคาจะ Break Out หรือจุด B และราคา Stop ก็จะวางใต้จุด C ดังนั้นระยะ BC คือ Risk เป็นระยะที่เรายอมขาดทุนได้ ส่วนเป้าหมายทำกำไร ก็จะอยู่จุด D เเละระยะราคาที่ CD=AB นั่นเอง หรือ 100% ของ AB ก็จะเป็น Reward หรือระยะคาดหวังกำไรครับ

เมื่อนำ Reward หารด้วย Rish ก็ได้ RRR สัดส่วนที่เหมาะสม ก็ควรจะมากกว่า 3:1 หรือหากน้อยกว่านั้นไม่ควรน้อยกว่า 2:1 เเปลว่ายิ่ง RRR มากยิ่งดีครับ คุ้มค่าต่อการเสี่ยง

ดังนั้นเราควรหา RRR ของหุ้นในลิสท์เสมอ จะได้เปรียนเทียบว่าตัวไหนคุ้มค่ามากกว่ากัน เวลาเข้าซื้อจะได้จัดสรรเงินได้อย่างเหมาะสม หุ้นตัวไหนคุ้มค่ามากกว่าก็เตรียมลงเิงนไว้มากกว่า หุ้นตัวไหนไม่คุ้มเสี่ยง เลี่ยงก่อนรอจังหวะ ยอมไม่ซื้อดีกว่าไหม


Like it? Share with your friends!

0

Comments

comments