ปฏิกิริยาที่เกิดกับใบหน้า จุดแดง คัน หรือ ผื่น อาจเกิดจากหลายสาเหตุ รวมถึงสภาวะเรื้อรัง เช่น ผื่นผิวหนังอักเสบ สิว สิวหน้าแดง ผื่นขึ้นหน้า หรือปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อสิ่งที่รับประทานหรือสัมผัส หรือกระทั่งการไวต่อสารบางชนิด เช่น ผงซักฟอก ผ้าใยสังเคราะห์ ผ้าเนื้อหยาบ แต่ก็อาจเกิดจากปัจจัยแวดล้อม เช่น การออกแดดมากไป การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือความชื้น เครื่องปรับอากาศ แม้แต่ความเครียดก็อาจส่งผลกระทบต่อผิวของคุณ
ประเภทของผื่นบนใบหน้า
ผื่นขึ้นหน้า เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ลักษณะของอาการคือ จะเป็นตุ่มเม็ดเล็กๆ ขึ้นเป็นแถบ หรือบริเวณหนึ่งๆ บนผิวหน้า มีอาการคัน และอาจมีสีแดง ผื่นนอกจากจะทำให้ดูไม่สวยแล้ว หากได้รับการดูแลไม่ถูกวิธียังทำให้ผิวเสีย และน่าเสียใจอีกด้วย
- ผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrheic dermatitis)มีลักษณะเป็นผื่นแดงคัน มีขุยสีเหลืองเป็นมัน มักพบบริเวณข้างจมูก คิ้ว ใบหู และหนังศีรษะที่มีรังแค
- ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีผิวแห้ง มีผื่นแดงคัน บริเวณใบหน้า คอ ข้อพับของแขนและขา พบในผู้ป่วยที่มีประวัติกรรมพันธุ์เป็นโรคในกลุ่มภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ คันตา หอบหืด เป็นต้น
- ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis)เกิดมีผื่นแดง ผิวหน้าคันอักเสบบริเวณที่สัมผัสกับสารที่แพ้ เช่น เครื่องสำอาง ส่วนมากมักเกิดอาการหลังใช้เครื่องสำอางหรือสารที่แพ้ ประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน
- ผื่นระคายสัมผัส (Irritant contact dermatitis)เกิดขึ้นกับคนที่สัมผัสสารมีฤทธิ์ก่อระคายปริมาณมากและระยะเวลานานพอ พบผื่นแดงอักเสบที่มีขอบเขตชัดเจนในบริเวณที่มีการสัมผัส ซึ่งจะมีอาการบวม แดง ร่วมด้วย นอกจากนี้ อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบเป็นกรดวิตามินเอ กรดผลไม้ หรือสารที่มีฤทธิ์ลอกผิวต่อเนื่องเวลานาน
- ผื่นสัมผัสจากสารร่วมกับแสง (Photocontact dermatitis)มีการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ครีมกันแดด น้ำหอม ร่วมกับโดนแสงแดด ซึ่งจะพบผื่นอักเสบได้บริเวณที่ได้รับแสงนอกร่มผ้า เช่น ใบหน้า หน้าอก แขน
สาเหตุผื่นคันตามใบหน้า
- ผิวที่เสียหายอ่อนแอมาก เกิดจากการ อาบน้ำด้วยสบู่หรือครีมอาบน้ำทั่วไปประจำๆ ซึ่งมีสารระคายเคืองผิวต่างๆ
- ใช้ครีมบำรุงที่มีน้ำมัน ซิลิโคน และน้ำหอมสะสมมาเรื่อยๆ
- หน้าแห้งที่มาจากการล้างหน้าด้วยสบู่หรือโฟมทั่วไป
- แพ้สารระคายเคืองในแชมพูหรือครีมนวดผม จากตอนที่ไหลมาสัมผัสผิวหน้า
- คันเนื่องจากแต่งหน้า เพราะเมคอัพทั่วไปไม่มีทางที่จะอ่อนโยน
วิธีบรรเทาอาการคันและระคายเคือง
เช่นเดียวกับการรักษาโรคผื่นผิวหนังอักเสบหรือโรคผิวหนังอื่น ๆ ที่ทำให้มีอาการคันและระคายเคือง คุณอาจใช้วิธีเหล่านี้นอกเหนือจากที่แนะนำไปแล้วข้างต้นสำหรับบรรเทาอาการ: [13]
- หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการเกาบริเวณที่คัน เพราะจะเป็นการทำร้ายผิวและทำให้ผิวอักเสบจนอาจถึงขั้นติดเชื้อ
- การประคบเย็นหรือเปียกอาจช่วยได้ และหากผิวแห้ง ให้ทาครีมหรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ
- ใช้สบู่ สารทำความสะอาด รวมทั้งผงซักฟอกที่อ่อนโยนต่อผิว ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นฉุน
- ล้างหน้าด้วยน้ำอุ่น ห้ามใช้น้ำร้อนเด็ดขาด
วิธีแก้ผื่นคันตามหน้าเบื้องต้น
- งดหรือแต่งหน้าให้น้อยลง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันและสารเคมีต่างๆ ในเมคอัพ ไปทำร้ายผิวมากกว่าเดิม
- งดสครับผิว เพื่อลดการรบกวนของผิว และงดการมาร์คหน้าโดยเฉพาะสูตรที่มีวิตามินซี ซึ่งจะทำให้ผิวแห้งกว่าเดิม
- ไม่เกา บีบ หรือกดสิว เพราะจะทำให้ผิวแย่กว่าเดิม และยังทำให้หน้าเป็นแผลง่ายด้วย
- วิธีแก้คันจะเกี่ยวกับการรักษาสิวโดยตรง
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอาศัยประวัติที่ผู้ป่วยมีอาการหน้าเป็นผื่น คัน ผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ในบริเวณที่แตกต่างกันตามวัยของผู้ป่วย
การรักษา
การดูแลรักษาโรคสามารถทำได้โดย
- การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ผื่นกำเริบเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ผู้ปกครองควรดูแลผิวพื้นฐาน ดังนี้
– ไม่ควรอาบน้ำบ่อยๆ ไม่ควรใช้น้ำที่อุ่นหรือร้อนจนเกินไป และไม่ขัดถูผิวแรงๆ ขณะอาบน้ำ
– เลือกใช้สบู่อ่อนๆ ที่เหมาะสมกับ ผิวแพ้ง่าย ไม่ควรฟอกสบู่บ่อยเกินไป ไม่ควรใช้สบู่ที่มีความเป็นกรดหรือด่างรุนแรง
– เลือกใช้เสื้อผ้าเนื้อนุ่ม โปร่ง ใส่สบาย ระบายความร้อนได้ดี ไม่ควรใส่เสื้อขนสัตว์ ผ้าเนื้อหนาหยาบจนเกินไป เพื่อลดการอับเหงื่อที่ทำให้เกิดอาการคันและระคายเคือง
– ในทารกที่มีประวัติครอบครัวที่เสี่ยงต่อโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ควรแนะนำให้ดื่มนมมารดา เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้นมวัว ไม่รับประทานอาหารที่ทราบแน่ชัดว่าทำให้ผื่นกำเริบ - ควรดูแลผิวหนังให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ทาหลังอาบน้ำทันที อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเลือกสารให้ความชุ่มชื้นผิวหนังชนิดที่อ่อนโยน ไม่มีน้ำหอม เหมาะสมกับผิวผู้ป่วย
- ทายาลดอาการอักเสบ
3.1 ยาทาสเตียรอยด์ ใช้ทาเฉพาะตำแหน่งที่มีผื่นแดงอักเสบ เมื่ออาการทุเลาแล้วควรหยุด และควรอยู่ ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
3.2 ยาทากลุ่ม Topical Calcineurin Inhibitor (TCI) ได้แก่ tacrolimus และ pimecrolimus ออกฤทธิ์ ต้านการอักเสบคล้ายยาทากลุ่มสเตียรอยด์ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา - ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเป็นตุ่มหนอง หรือน้ำเหลืองซึม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การดูแล แนะนำการทำความสะอาดแผล อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาหรือกินร่วมด้วย
- ยาต้านฮีสตามีนชนิดที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน จะช่วยลดอาการคัน เพราะการเกาจะทำให้ผื่นเป็นมากขึ้นหรือเกิดแผลถลอก และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาได้
Facial Moisturizers
ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว เซราวี ไม่เพียงเติมความชุ่มชืนให้ผิวคุณเท่านั้น ด้วยส่วนผสมลิขสิทธิ์เฉพาะซึ่งผสานเซราไมด์ที่จำเป็นสำหรับผิวแข็งแรงสุขภาพดี
โลชั่นบำรุงผิวหน้าเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น
ให้ความชุ่มชื้นและช่วยฟื้นฟูปราการปกป้องผิวหน้าและลำคอ
คุณสมบัติ & ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์
เทคโนโลยี MVE ลิขสิทธิ์เฉพาะของเซราวี
Multi-Vesicular Emulsion (MVE) ควบคุมและค่อยๆปล่อยสารสำคัญอย่างช้าๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อผิวชุ่มชื้นยาวนาน 24 ชม.
วิตามิน B3 (ไนอะซินาไมด์)
ปลอบประโลมผิว ช่วยลดอาการอักเสบและรอยแดง
สูตรไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน
ผ่านการทดสอบบนผิวบอบบางระคายเคืองง่าย ภายใต้การควบคุมโดยแพทย์ผิวหนัง